รู้ทันป้องกัน โรคกระดูกพรุน
สาเหตุของภาวะกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะกระดูกบาง ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่ลดลงอย่างรวดเร็วจนต่ำกว่ามาตรฐานซึ่งจะเกิดในวัยทอง ซึ่งมีผลทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆผิดปกติ แม้การเปลี่ยนแปลงนั้นจะเกิดขึ้นได้ทุกระบบของร่างกายแต่หากร่างกายขาดฮอร์โมนเพศนานๆ ก็จะเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ ซึ่งจะทำให้เนื้อกระดูกบางลง เกิดการทำลายเซลล์กระดูกเพิ่มมากขึ้นและการสร้างเซลล์กระดูกก็จะหมดลง
1. กระดูกพรุนที่มีสาเหตุชัดเจน ได้แก่
- กรรมพันธุ์
- โรคต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคพาราไทรอยด์ ฮอร์โมนสูง
- ขาดสารอาหาร เช่น แคลเซียม โปรตีน วิตามินซี การดูดซึมของลำไส้ที่ผิดปกติ
- ได้รับยา เช่น ยากันชัก ยา Heparin ซึ่งเป็นตัวป้องกันการแข็งตัวของเลือด
- อื่นๆ เช่น เป็นโรครูมาตอยด์ได้รับบาดเจ็บ เป็นเนื้องอก โรคโลหิตจางจากทาลาสซีเมีย
2. กระดูกพรุนที่ไม่ทราบสาเหตุ พบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยๆ อาการเกิดขึ้นค่อนข้างเฉียบพลัน ส่วนสูงลดลงภายในไม่กี่ปีอาการของโรคอาจยุติได้เอง ภายใน 3-5ปีหลังจากนั้นถ้าผู้ป่วยอายุยังน้อย กระดูกสามารถเติบโตต่อไปได้อีก
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
เนื่องจากปริมาณกระดูกในร่างกายทุกคน ลดลงหลังจากอายุ 45 ปี แต่ตัวแปรสำคัญที่ทำให้คนปกติที่ไม่มีโรคประจำตัวเป็นโรคกระดูกพรุน คือ
1. โครงสร้างของกระดูกบอบบาง
2. น้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ
3. ขาดฮอร์โมนเพศหญิงหลังหมดประจำเดือน
4. แคลเซียมทดแทนไม่เพียงพอ
5. ออกกำลังกายน้อยเกินไป
6. สูบบุหรี่ดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ มากเกินไป
7. รับประทานยาสเตรียรอยด์
การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก ด้วยเครื่องX-ray ธรรมดา
การX-Ray กระดูกธรรมดาสามารถบอกความหนาแน่นกระดูกได้ในระดับหนึ่งโดยแพทย์จะพิจารณาดูจากความเข้มของภาพx-ray กระดูกนั้นๆการX-Ray ด้วยเครื่อง Dual Energy X-ray Absorption (DEXA) การX-Ray กระดูกโดยใช้เครื่องมือวัดความหนาแน่นกระดูกที่มีรังสีX-Ray ต่างกันสองระดับโดยมีซอฟต์แวร์ในการคำนวณความหนาแน่นของกระดูก
เป็นวิธีมาตรฐาน
รวดเร็วได้ผลที่ถูกต้องปริมาณรังสี
น้อยมากประมาณ1/30เท่าของการเอ็กซเรย์ปอด
ข้อบ่งชี้และประโยชน์ของการตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก
เนื่องจากโรคกระดุกพรุนในระยะเริ่มต้นจะไม่ปรากฏอาการผู้ป่วยจึงไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้จนกว่าปริมาณเนื่อกระดุกจะลดลงถึงระดับที่กระดูกเปราะและหักด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ปัจจุบันแทพย์สามารถวินิจฉัยภาวะกระดูกบางหรือโรคกระดูกพรุนในระยะเริ่มแรกได้โดยการวัดความหนาแน่นของกระดุกด้วยเครื่องDEXA Scan[ Dual Energy X-Ray Absorption ]ซึ่งเป็นการตรวจที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถ
ตรวจพบการลดลงของเนื้อกระดูกได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและสามารถใช้ติดตามผลการรักษามีกระบวนการตรวจที่สะดวกสะบายรวดเร็วมีวิธีการประเมินค่าที่ตรวจได้โดยอ้างอิงตามเกณฑ์มาตราฐานขององค์การอนามัยโลก
เครื่องถูกออกแบบให้สามารถตรวจกระดูกได้หลายตำแหน่งแต่บริเวณที่เหมาะสมแก่การตรวจมากที่สุดคือบริเวณกระดูกที่รองรับน้ำหนักของร่างกายคือกระดูกสันหลังกระดูกสะโพกและกระดูกข้อมือและผู้ที่สมควรได้รับการตรวจเป็นอย่างยิ่งคือผู้สูงอายุหญิงวัยหมดประจำเดือนผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงรวมไปถึงผู้ที่มีอายุมากขึ้นและไม่เคยได้รับการตรวจมาก่อน
ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการ
หมายเหตุ : เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดสารอาหารอื่นแนะนำให้รับประทานหลายๆ ประเภทในแต่ละวัน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารน้อยชนิดหรืออาหารซ้ำซาก สำหรับวิตามินดี จะช่วยให้กระเพาะดูดซึมได้ดีขึ้น วิตามินดีมีมากในนมสดและแสงแดด
การรับประทานแคลเซียมเสริม
การรับประทานแคลเซียมเสริม มีความจำเป็นในบางคนเท่านั้น ทั้งสตรีวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือนยาเม็ดแคลเซียมมีหลายรูปแบบ แต่ละชนิดมีปริมาณของเหลือแคลเซียมในสัดส่วนที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ผู้บริโภคจะได้รับปริมาณแคลเซียมที่ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแปรผันตั้งแต่ 250 - 1,000 มก. การรับประทานเกลือแคลเซียมแต่ละชนิดมีส่วนประกอบของแคลเซียมที่แตกต่างกันออกไปแคลเซียมคาร์บอเนตได้รับแคลเซียมร้อยละ 40 แคลเซียมแลคเตทได้รับแคลเซียมร้อยละ 9 แคลเซียมแลคเตทกลูโคเนทได้รับแคลเซียมร้อยละ 13.2 เนื่องจากแคลเซียมดูดซึมเข้าสู่ร่างกายผ่านลำไส้เล็กตอนต้จและลำไส้เล็กตอนกลางในกรณีที่รับประทานแคลเซียมชนิดเม็ดถ้ามีอาการคลื่นไส้ แนะนำให้รับประทานหลังอาหารราว 1 ชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมงครึ่ง หรือรับประทานพร้อมนมสด ส่วนผู้ที่รับประทานแคลเซียมแล้วมีอาการท้องผูก ควรรับประทานอาหาร พวกผักและผลไม้เพิ่มขึ้น